ความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- Kru Graph
- Nov 12, 2017
- 1 min read

ความก้านหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อสนองความต้องหารในด้านต่างๆ ของผู้ใช้ในปัจจุบันซึ่งมีจำนวนผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งที่ก่แให้เกิดประโยชน์และโทษ ดังนี้
1.ด้านสังคม [C1]
สภาพเสมือนจริง การใช้อินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือที่รู้จักกีนว่า ไซเบอรฺ์สเปช (cyber space) ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ เช่นการพูด การชื้อสินค้า และบริการ การทำงานผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริง (virtual) เช่น เกมส์เสมือนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง ซึ่งทำให้ลดเวลาในการเดินทางและสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา
เกมเสมือนจริง
อาจสร้างปัญหาความรุนแรงให้กับผู้ใช้ที่ไม่สามารถแยกแยะระหว่างเกมกับชีวิตจริง ทำให้อาจใช้ความรุนแรงลอกเลียนแบบเกม และเกิดปัญหาอาชญากรรมตามที่เป็นข่าวให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง
การใช้เงินอิเล็กทรอนอกส์ (E-Crash)
การใช้เงินตราจะเริ่มเปลี่ยนรูปแบบเป็นการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทำให้พกเงินสดน้อยลง เพิ่มความสะดวกในการซื้อสินค้าและการบริการต่างๆ ด้วยบัตรที่มีลักษณะเป็นบัตรสมาร์ต หรือสมาร์ตการ์ด (smart card) ซึ่งบัตรใบเดียวสามารถใช้ได้กับธุรกรรมหลายประเภท ตั้งแต่เป็นบัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่ บัตรประจำตัวพนักงานหรือบัตรประจำตัวนักเรียน นักศึกษา บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต ตลอดจนบัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ร้านค้า และร้านอาหารต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันพฤติกรรมการใช้เงินที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว ข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น อาจมีผู้ประสงค์ร้ายลักลอบโจรกรรมข้อมูล เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ และรหัสที่ใช้ในการถอนเงิน ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้ในทางที่ผิด เช่น ลักลอบเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลบัญชีเงินฝากของธนาคาร เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีของตนเอง การโทรศัพท์มาแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากร หลอกให้ทำการโอนเงินจากบัญชีออกไปให้โดยบอกว่าจะทำการคืนเงินภาษีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์

การโจรกรรมข้อมูลทางอิเล็กทรอกนิกส์
การศึกษาแบบออนดีมานด์ (Education on Demand)เป็นการเปิดเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษา ณ ที่ใด เวลา ใดก็ได้ แล้วเลือกวิชาเรียนบทเรียนได้ ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของอีเลิร์นนิง (e-Learning) ตัวอย่างของการนำเสนอรายการโทรทัศน์แบบออนดีมานด์

การศึกษาแบบออนดีมานด์
การได้รับเทคโนโลยีมากเกินไป (technology overload)
การพัฒนาของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย ทำให้น่าสนใจ และสะดวกในการเข้าถึง สิ่งเหล่านี้เป็นแรงดึงดูดให้บุคคลเกิดความลุ่มหลงจนเกิดเป็นอาการติดเทคโนโลยี เช่น ติดการใช้โทรศัพท์มือถือ การถ่ายคลิป การเข้าถึงข้อมูลในอินเทอร์เน็ต การส่งข้อความออนไลน์ การใช้อีเมล์ หรือการเล่นเกมออนไลน์ ซึ่งอาจนำไปสู่การทำลายสัมพันธภาพทางสังคม

การเสพติดเทคโนโลยี
2.ด้านเศรษฐกิจ [C2]
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ (globalization) เพราะสามารถชมข่าว ชมรายการโทรทัศน์ที่จะส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลก สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก เกิดกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกจึงเชื่อมโยงและผูกพันกันมากขึ้น

การศึกษาแบบออนดีมานด์
3.ด้านสิ่งแวดล้อม [C3]
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม หรือภาพถ่ายทางอากาศ ร่วมกับการจัดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์ เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม
รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบผสม (Hybrid Engine)
เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมจึงมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อควบคุมให้เครื่องยนต์ลดการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นการช่วยลดมลภาวะก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์
ขยะอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพ คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์ ที่เสียหรือไม่ได้ใช้งานแล้ว รวมถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ไที่ถูกทิ้งเป็นขยะมีความแตกต่างจากขยะทั่วไป เนื่องจากมีส่วนประกอบของโลหะและพลาสติก รวมถึงวัสดุอื่นๆที่ประกอบกันอย่างซับซ้อน โดยเฉพาะในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจากรายงานพบว่าขยะเหล่านี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังปล่อยสารพิษปะปมสู่สิ่งแวดล้อม

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste)